TH | EN





"ธนาคารสหกรณ์ : จุดเปลี่ยนระบบการเงินสหกรณ์ไทย"

      พลโท ดร.วีระ วงศ์สรรค์ ประธานกรรมการ นำคณะผู้บริหาร ชสอ. ร่วมงานสัมมนาเรื่อง "ธนาคารสหกรณ์ : จุดเปลี่ยนระบบการเงินสหกรณ์ไทย"  เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2559ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จัดโดยนิสิตปริญญาโท เศรษฐศาสตร์สหกรณ์รุ่น 13มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมเป็นวิทยากรร่วมกับวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์หลายหน่วยงานที่กำกับดูแลการบริหารงานสหกรณ์ออมทรัพย์ นำโดย นายเสนอ ชูจันทร์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์  นายวรเทพ ไวทยาวิโรจน์ นักสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ นายศิริชัย ออสุวรรณ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด นายศิริชัย สาครรัตนกุล ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาครัฐและภาคสหกรณ์ร่วม 200คน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) ทุนดำเนินงานของสหกรณ์ทั้ง 7 ประเภทรวม 2.6 ล้านล้านบาทเป็นของ สหกรณ์ออมทรัพย์ถึง 2.14ล้านล้านบาท มีอัตราการเติบโตเร็วมาก หากการกำกับควบคุมคุณภาพการบริหารจัดการไม่ดีแล้วจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศโดยรวมได้
2) ยังไม่มีสถาบันการเงินกลางของขบวนการสหกรณ์ที่จะทำหน้าที่เชื่อมโยงธุรกิจการเงินระหว่างสหกรณ์ที่มีเงินเหลือและสหกรณ์ที่ขาดเงินทุน(Central Financial Facility) รวมทั้งทำหน้าที่เป็นที่พึ่งสุดท้าย(Lender of Last Resort)ให้กับสหกรณ์
3) นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง ให้กำหนดแนวทางในการจัดตั้งธนาคารสหกรณ์ และแนวทางในการส่งเสริมพัฒนากำกับดูแลสหกรณ์ให้มีความมั่นคงยั่งยืน ซึ่งจะต้องวางRoad Mapให้เสร็จภายในเวลา 9เดือนนี้
4) ที่ประชุมสัมมนาเห็นร่วมกันว่าควรจะต้องมีองค์กรกลางทางการเงิน(Central Financial Organization)ของระบบสหกรณ์ขึ้นมา จะเรียกว่า"ธนาคาร" หรือ "ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย" ก็ได้ แต่ขอให้มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
4.1)ผู้ถือหุ้นต้องเป็นสหกรณ์
4.2)คณะกรรมการบริหารและฝ่ายจัดการต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการบริหารสถาบันการเงิน
4.3)ระบบการบริหารจัดการต้องอยู่บนพื้นฐานของ อุดมการณ์และหลักการสหกรณ์ คุณธรรมจริยธรรมที่ดี ธรรมาภิบาล ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนหรือขัดแย้ง(Conflic of Interest) มีระบบการเลือกตั้งสรรหากรรมการโดยสุจริต
4.4)กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ(Responsibility& Accountabilityของคณะกรรมการให้เป็นผู้กำหนดและกำกับติดตามการดำเนินการตามนโยบาย ไม่ใช่ทำหน้าที่ของฝ่ายจัดการ(เช่นหากกรรมการทำหน้าที่พิจารณาเงินกู้ จะเกิดconflic of interestได้เป็นต้น)
4.5)มีหน้าที่ในการให้ความรู้ด้านการเงิน(Financial Literacy)และสร้างวินัยทางการเงิน (Financial Dicipline)แก่สมาชิกและผู้บริหารสหกรณ์

5) หาก ชสอ. พร้อมที่จะปรับปรุงองค์กรครั้งใหญ่ขึ้นเป็น CFOก็เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง แต่หากทำไม่ได้ก็ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่

วันที่เขียนข่าว : 25 ก.ค. 2559
ผู้เขียนข่าว : FSCT
แชร์ข่าว :  
 

 
 

 
Copyright ® 2007-2013 ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด.
199 หมู่ที่ 2 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทร. 02 496 1199  แฟ็กซ์. 02 496 1177, 02 496 1188  อีเมล์ CONTACT@FSCT.COM